โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ข้อมูลโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
" ประวัติความเป็นมาและการพัฒนาโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา "

วิสัยทัศน์
“ องค์กรชั้นนำ เพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชน ”

ความเป็นมา
วันที่ 28 กันยายน 2452 ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นตามประกาศจัดตั้งสุขาภิบาล ตำบลโพธิ์กลาง โดยได้มีการก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้น 2 แห่ง คือ
1.โรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 1 รับรักษาผู้ป่วยโรคทั่วไปที่ ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
2.โรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 2 รับรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อ ตั้งอยู่ที่ ต.สวนหม่อน อ. เมือง จ.นครราชสีมา ต่อมาได้ย้ายโรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 1 จากตำบลโพธิ์กลาง มารวมกับโรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 2 ตำบลสวนหม่อนและเรียกว่า โรงพยาบาลสวนหม่อน
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2478 ได้โอนกิจการของโรงพยาบาลสุขาภิบาล หรือโรงพยาบาลสวนหม่อน ไปสังกัดเทศบาลเมืองนครราชสีมา และเรียกชื่อว่า โรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครราชสีมา


วันที่ 1 กันยายน 2497 ได้โอนกิจการโรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครราชสีมา ไปสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขและเรียกชื่อใหม่ว่า โรงพยาบาลเมืองนครราชสีมา จัดระดับเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด
ในปี พ.ศ. 2517 โรงพยาบาลนครราชสีมา ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งเป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันที่ 5 กันยายน 2524 เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 กระทรวงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา พระราชทานชื่อเป็น โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา



ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่เลขที่ 49 ถนนช้างเผือก ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 136 ไร่ 82 ตารางวา โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ จดกับที่ดินของเอกชน ทิศใต้ จดกับลำตะคองที่มีตลิ่งสูงชัน ทิศตะวันออก จดกับถนนช้างเผือกซึ่งเชื่อต่อระหว่างถนนมิตรภาพเส้นในและถนนมิตรภาพเส้นนอก ทิศตะวันตก จดกับถนนมหาราช

พันธกิจของโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีพันธกิจในการบริการสาธารณสุข อันประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ การให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานในพื้นที่รับผิดชอบและกลุ่มเสี่ยง กลุ่มด้อยโอกาส เป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วย เพื่อรักษาต่อในระดับ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ ร่วมผลิตและฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขในท้องถิ่น รวมทั้งการร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ตลอดจนชุมชนในการแก้ปัญหา และยกระดับสถานะสุขภาพของประชาชน

ประวัติของกลุ่มงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
ประวัติของกลุ่มงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา วันที่ 28 กันยายน 2452 ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นตามประกาศจัดตั้งสุขาภิบาล ตำบลโพธิ์กลาง โดยได้มีการก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้น 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 1 รับรักษา ผู้ป่วยโรคทั่วไปที่ ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา และโรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 2 รับรักษา ผู้ป่วยโรคติดต่อ ตั้งอยู่ที่ ต.สวนหม่อน อ.เมือง จ.นครราชสีมา ต่อมาได้ย้ายโรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 1 จากตำบลโพธิ์กลาง มารวมกับโรงพยาบาลสุขาภิบาลที่ 2 ตำบลสวนหม่อน และเรียกว่า โรงพยาบาลสวนหม่อน ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2478 ได้โอนกิจการ ของโรงพยาบาลสุขาภิบาล
หรือโรงพยาบาลสวนหม่อน ไปสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และเรียกชื่อใหม่ว่า โรงพยาบาลเมืองนครราชสีมา จัดระดับเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัด สำหรับปี พ.ศ.2517 โรงพยาบาลเมืองนครราชสีมาได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งเป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2524 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 กระทรวงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา พระราชทานชื่อเป็น “โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา” และในปี พ.ศ. 2552 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้ก่อตั้งอาคาร กลุ่มงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ตั้งอยู่เลขที่ 21 ถ.ช้างเผือก ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา รับรักษาผู้ป่วยโรคเฉพาะทาง ( โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, 2556 : www.mnrh.go.th ) วิสัยทัศน์ : “องค์กรชั้นนำ เพื่อสุขภาวะที่ดีประชาชน” พันธกิจ : โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีพันธกิจในการบริการสาธารณสุข อันประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ การให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานในพื้นที่รับผิดชอบและกลุ่มเสี่ยงกลุ่มด้อยโอกาส เป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วย เพื่อรักษาต่อในระดับ ทุติยภูมิ แลตติยภูมิร่วมผลิตและฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขในท้องถิ่น รวมทั้งการร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ตลอดจนชุมชนในการแก้ปัญหา และยกระดับสถานะสุขภาพของประชาชน