โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
คลินิกการแพทย์แผนไทย
28/04/2566
อ่านเพิ่มเติม
อัตราค่าบริการการฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอด
ข่าวสารและกิจกรรม
คลินิกการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
เวลาให้บริการ
เปิดให้บริการ (ในเวลาราชการ)
  • วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น.
เปิดให้บริการ (นอกเวลาราชการ)
  • วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 16.00 - 20.00 น.
  • วันเสาร์          เวลา 08.00 - 12.00 น.
ปิดให้บริการ
  • วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
เวลาให้บริการ
เปิดให้บริการ (ในเวลาราชการ)
  • วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 16.00 น.
เปิดให้บริการ (นอกเวลาราชการ)
  • วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 16.00 - 20.00 น.
  • วันเสาร์          เวลา 08.00 - 12.00 น.
ปิดให้บริการ
  • วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
สิทธิการรักษา
ข้าราชการเบิกได้ (กรณีรักษาโรค)
บัตรประกันสังคม (กรณีรักษาโรค)
บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง)
การรักษาการเเพทย์แผนไทย
หลักการรักษาโรคตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย
ทฤษฎีการแพทย์ไทย กล่าวว่า คนเราเกิดมาในร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ซึ่งในแต่ละคนจะมีธาตุหลักเป็นธาตุประจำตัว เรียกว่า “ ธาตุเจ้าเรือน ” เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุลบุคคลนั้นก็จะไม่เจ็บป่วย หากขาดความสมดุลก็จะเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากจุดอ่อนด้านสุขภาพของแต่ละคนตามเรือนธาตุที่ขาดความสมดุลนั้น
วิธีการรักษาการเเพทย์แผนไทย
องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการสะสมประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมองว่าจิตใจและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มีการทำงานที่สัมพันธ์และเป็นหนึ่งเดียว รวมทั้งเรื่องของปรัชญาความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินชีวิตตามแบบวิถีชีวิตคนไทย โดยองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยประกอบด้วย 4 ด้าน “เป็นการตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมแลฟื้นฟูสุขภาพ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย ” ดังนี้
เวชกรรมไทย
การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การป้องกันโรค การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงการผดุงครรภ์ไทย เภสัชกรรมไทย และการนวดไทย ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย
หัตถเวชกรรมไทย
การตรวจ วินิจฉัย บำบัด และป้องกันโรค รวมถึงการส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การดัด การดึง การประคบ และการอบ ทั้งนี้ตามหลักวิชาการแพทย์แผนไทย
เภสัชกรรมไทย
การกระทำในการเตรียมยา การผลิตยา การประดิษฐ์ยา การเลือกสรรยา การควบคุมและการประกันคุณภาพยา การปรุงยาและการจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์และการจัดจำหน่ายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย
ผดุงครรภ์ไทย
การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด การรักษา การส่งเสริมสุขภาพหญิงมีครรภ์ การป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์และระยะคลอด การทำคลอด การดูแลการส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพมารดาและทารกในระยะหลังคลอด ทั้งนี้ ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย
กิจกรรมการให้บริการ
1. การนวดรักษาแบบราชสำนัก
2. สปาและการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ
3. การนวดปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย
4. การนวดเท้าเพื่อสุขภาพ
5. การฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอด
6. การอบสมุนไพร
คำเเนะนำในการรักษา
ก่อนการรักษา
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
2. แจ้งประวัติการเจ็บป่วยและโรคประจำตัวให้ทุกครั้ง
หลังการรักษา
1. กรณีมีอาการฟกช้ำระบมของกล้ามเนื้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว รู้สึกเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวไม่มีแรง โดยปกติสามารถเกิดขึ้นได้และหายได้เองภายใน1-2 วันหลังการนวด โดยไม่ต้องรับประทานยาบรรเทาปวด แนะนำการประคบ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆประคบบริเวณที่ปวด และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ลดการใช้งานกล้ามเนื้อ ลดการทำงานหนัก และหลีกเลี่ยงการตากแดดตากฝนตากลม อาการก็จะสามารถหายได้เอง แต่หากมีมีอาการรุนแรงและเป็นอยู่หลายวัน ควรรับประทานยาบรรเทาปวดได้ ถ้ายังไม่หายควรไปรับการปรึกษากับแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด หรือควรทำการส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบัน
2. ผู้ป่วยบางรายอาจมีการแพ้สมุนไพร หรือยาสมุนไพร เช่น ผื่นคัน ผื่นบวมแดง แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม ควรหยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์ทันที
ข้อห้ามในการรักษา
ข้อห้ามในการนวด
1. ผู้ที่มีไข้ (อุณหภูมิ > 37.5 องศาเซลเซียส)
2. ผู้ที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
3. บริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน
4. ห้ามนวดบริเวณที่เป็นมะเร็ง (ระยะลุกลาม และสิ้นสุดการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบันไม่น้อยกว่า 1 ปี)
5. กระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ที่ยังไม่หายดี ( กรณีมีการผ่าตัดใหญ่ ≥ 1 ปีขึ้นไป กรณีผ่าตัดเล็ก ≥ 3 เดือนขึ้นไป)
6. โรคติดเชื้อทางผิวหนังทุกชนิด แผลเปิดเรื้อรัง
7. แจ้งประวัติการเจ็บป่วยและโรคประจำตัวให้ทุกครั้ง
ข้อควรระวังในการนวด
1. สตรีมีครรภ์
2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น
- โรคเบาหวาน (ห้ามนวดในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือด ≥ 200 mg/dL ที่ยังควบคุมอาการให้เป็นปกติไม่ได้)
- โรคความดันโลหิตสูง (ห้ามนวดในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิต > 140/90 มิลลิลิตรปรอท)
- โรคไต (ห้ามนวดในผู้ป่วยที่ฟอกไตต่อเนื่อง)
- โรคหัวใจ
3. ใส่อวัยวะเทียมหลังผ่าตัดกระดูก
4. ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุน กระดูกบาง
5. ผู้ที่เพิ่งรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ก่อนให้บริการนวดไทย (อย่างน้อย 30 นาที)