การตอบกลับการจองคิว
/ ข้อห้ามในการฝังเข็ม
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
1. สตรีมีครรภ์
2. โรคติดต่อร้ายแรง
3. โรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)
4. โรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด
5. ผู้ป่วยที่รับประทานยาลดการแข็งตัวของเลือด เช่น วาฟารีน(warfarin), โคฟิโดเกล(clopidogrel), Paraxa(Dabiqatrm), Xarelto(Riavaraxaban), Eliquis(Apixaban), Heparin, LVNH (Fraxiparin clexam)
6. โรคที่ต้องการการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน
7. สตรีที่กำลังมีประจำเดือนขณะจะเข้ารับการฝังเข็ม (ยกเว้นปวดประจำเดือน)
8. แผลติดเชื้อ
9. อ่อนเพลีย อ่อนล้า เกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอ
เพราะจะทำให้อ่อนล้ามากกว่าเดิม และอาจจะเป็นลมได้
10. เหนื่อยล้าจากการออกกำลังกายมากเกินไป
11. หิว หรืออิ่มเกินไป
ข้อควรระวังเกี่ยวกับยา
ผู้ป่วยที่รับประทานยาลดการแข็งตัวของเลือด เช่น แอสไพริน(aspirin) วาฟารีน(warfarin), โคฟิโดเกล(clopidogrel), Paraxa(Dabiqatrm), Xarelto(Riavaraxaban), Eliquis(Apixaban), Heparin, LVNH (Fraxiparin clexam) เป็นข้อห้ามในการรักษาโดยการฝังเข็ม
ผลข้างเคียงของการรักษา
อาการข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการทำหัตถการดังต่อไปนี้
    1.การฝังเข็มรักษา
    - อาจมีอาการเขียวช้ำบริเวณจุดฝังเข็มได้ อาการดังกล่าวควรประคบเย็นใน24ชั่วโมงแรก หากอาการไม่ดีขึ้น บวม เขียว มากผิดปกติหรือ มีประวัติรับประทานยาละลายลิ้มเลือดร่วมด้วย ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ให้รับทราบ     - อาจมีอาการปวดบริเวณจุดฝังเข็ม สามารถรับประทานยาแก้ปวด ( Paracetamol ) ได้ หากไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา อาการดังกล่าวจะค่อยๆลดลงภายใน1-2วัน หากอาการไม่ดีขึ้น ติดต่อเจ้าที่
    2.การกระตุ้นไฟฟ้า
    - หากมีอาการปวดบริเวณจุดที่ได้รับการกระตุ้นไฟฟ้า กรุณากดกริ่งทันที เพื่อให้พยาบาลผู้ดูแล ปรับลด หรือ หากกรณีสัญญาณกระตุ้นไฟฟ้าลดลง, หายไป เช่นเดียวกัน
    3.การรมยาจีน
    - ขณะที่ได้รับการรมยาจีน บริเวณดังกล่าวผู้ป่วยจะไม่รู้สึกใดๆ นอกจากได้กลิ่นสมุนไพรจีนโกฏจุรารัมภา ซึ่งมักมีกลิ่นคล้ายบุหรี่ เหมือนกลิ่นควันไฟ ประมาณ10นาที หลังจากนั้นจะคงมีความร้อนของเม็ดไฟ ที่บริเวณหัวเข็มอีก 5 นาที หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจไม่สะดวก มีประวัติแพ้ควันไฟ แสบร้อน บริเวณจุดรมยา ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
    4.การดูดถ้วยสุญญากาศ
    - ถ้วยสุญญากาศจะเป็นถ้วยพลาสติกกลมๆ ครอบตามพื้นที่จุดที่มีอาการปวด ช่วยลดแรงตึงผิว กระตุ้นเลือดลมไหลเวียนสะดวก ขณะทำผู้ป่วยจะรู้สึกมีถ้วยดูดตามผิวหนังตึงแน่น ใช้เวลา10นาที ซึ่งบริเวณผิวหนัง ที่มีระบบไหลเวียนไม่สะดวก จะพบรอยช้ำแดง ถึง ม่วงคล้ำ แล้วแต่สภาพผิว ของผู้ป่วยแต่ละราย ขณะทำ หากมีอาการผิดปกติจากการดูดถ้วย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที เมื่อครบเวลา 10นาที พยาบาลจะนำถ้วยออก หลังทำผู้ป่วยไม่ควรอาบน้ำเย็น หรือถูและเกาบริเวณผิวหนัง ควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวมสบาย ไม่เสียดสีผิว
    5.การอบไฟ
    - โคมไฟอินฟราเรด ช่วยส่องอบบริเวณผิวหนังจุดลมปราณ จุดที่ผู้ป่วยมีอาการปวด ชา เพื่อช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือด ลดอาการปวด ชาได้ ในการอบใช้เวลาประมาณ 10 นาที ขณะทำหากผู้ป่วยมีอาการร้อนเกินพอดี กดกริ่งที่ให้ไว้ พยาบาลจะปรับลดไฟลง หลังการอบไฟ ผู้ป่วยควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวมสบายไม่เสียดสีผิว
    6.การครอบแก้ว
    - แพทย์จะใช้แก้วครอบบนบริเวณผิวหนัง โดยจะจุดไฟอังไปที่ถ้วย ให้เกิดสุญญากาศแล้วครอบลงที่ผิวหนัง ผู้ป่วยจะรู้สึกตึงสบาย ใช้เวลาประมาณ 10นาที หรือบางครั้ง แพทย์อาจใช้การเคลื่อนแก้ว วิ่งไปมาบนผิวหนัง เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายการตึงตัว หากถ้าผู้ป่วยมีอาการร้อนเกินพอดี หรือปวดมาก สามารถแจ้งแพทย์ได้ทันที เมื่อครบเวลา 10 นาที พยาบาลจะไปนำถ้วยออก ผิวหนังที่มีระบบไหลเวียนไม่สะดวก จะพบรอยช้ำแดง ถึง ม่วงคล้ำ แล้วแต่สภาพผิวของผู้ป่วยแต่ละราย ประมาณ 1-2 สัปดาห์จะจางหาย หลังทำผู้ป่วยไม่ควรอาบน้ำเย็น หรือถูและเกาบริเวณผิวหนัง ควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวมสบาย ไม่เสียดสีผิว
    7.การทำเข็มเจ็ดดาว
    - แพทย์จะใช้เข็มเบอร์21 จิ้มเป็นจุดเล็กๆ10-20จุด หลังจากนั้นใช้ถ้วยดูดสุญญากาศ จะได้เลือดเป็นลิ่มเก่าๆสีแดงกล้ำ ปริมาณมาก-น้อยแล้วแต่อาการของแต่ละราย ใช้เวลา 10นาที ขณะที่ทำหากผู้ป่วยไม่สุขสบาย สามารถแจ้งแพทย์ได้ทันที ครบเวลา 10นาที พยาบาลจะนำถ้วยออก แล้วทำความสะอาด บริเวณที่ทำเข็มเจ็ดดาว หลังทำผู้ป่วยไม่ควรอาบน้ำ หรือถูและเกาบริเวณผิวหนัง 1 วัน ควรสวมใส่เสื้อผ้าหลวมสบายไม่เสียดสีผิว
การเดินทาง
เเผนที่ Google Maps
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
เลขที่ 49 ถนน ช้างเผือก
ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30000
044-235243


Copyright © 2021 PETCH KH. All right reserved