การตอบกลับการจองคิว
/ การจัดสิ่งแวดล้อมเเละที่อยู่อาศัย
การจัดสิ่งแวดล้อมเเละที่อยู่อาศัย
การจัดสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย
1.ทางเข้าตัวอาคาร
    บริเวณที่ยกระดับสูงจากพื้นหรือมีบันไดหลายขั้น ต้องจัดให้มีทางลาดสำหรับผู้ใช้เก้าอี้ล้อเข็น ทางลาดที่เหมาะสม ควรมีความชันไม่เกิน 5 องศา หรือความสูงต่อความยาวไม่น้อยกว่า 1 ต่อ 12 ความกว้างของทางลาดควรมากกว่า 90 เซนติเมตร

2.ประตูทางเข้า – ออก
    ควรกว้างไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร หรือกว้างมากกว่าความกว้างของล้อเข็น การเปิด – ปิด ประตูต้องทำได้โดยง่าย โดยทั่วไปประตูแบบเปิดออกจะสะดวกกว่าแบบเปิดเข้า การใช้ประตูแบบเลื่อนเปิด–ปิด โดยเฉพาะแบบปิด–เปิดอัตโนมัติจะสะดวกต่อผู้พิการมากที่สุด และไม่ควรให้มีธรณีประตู ถ้ามี ความสูงไม่ควรเกิน 1.3 เซนติเมตร หรือ 0.5 นิ้ว

3.บันได
    ในกรณีที่ไม่สามารถปรับสภาพแวดล้อมให้ผู้พิการอยู่ชั้นล่างได้และจำเป็นต้องใช้บันได สำหรับผู้พิการที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก หรือคนชรา ที่มีความสามารถพอจะขึ้นบันไดได้นั้น บันไดต้องไม่ชันมากเกินไป ขนาดขั้นบันไดที่เหมาะสมคือ สูง 14 เซนติเมตร และกว้าง 32 เซนติเมตร บันไดต้องมีราวเกาะทั้ง 2 ข้าง ความสูงของราวเกาะที่เหมาะสมคือประมาณ 90 เซนติเมตร ขนาดของราวเกาะควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 1.25 ถึง 5 เซนติเมตร ( 0.5 ถึง 2 นิ้ว) และมีผิวไม่ลื่น เพื่อให้จับได้อย่างมั่นคง 4. พื้นภายในตัวอาคาร
    ควรมีระดับเดียวกันตลอดทั้งชั้นและไม่ลื่น ถ้าต่างระดับกันควรจัดให้มีทางลาด พร้อมกับมีแผ่นกันลื่น

5. ทางเดิน
    ควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 91.5 เซนติเมตร เพื่อให้เก้าอี้ล้อเข็นสามารถใช้ได้ พื้นทางเดินควรเป็นพื้นเรียบและไม่ลื่น ไม่มีสิ่งกีดขวาง

6. อุปกรณ์และเครื่องใช้ภายในบ้าน
เตียง
    ควรมีความสูงเท่ากับความสูงของเก้าอี้ล้อเข็น หรือสูงประมาณ 48 – 52 เซนติเมตรพร้อมกับอุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนย้ายตัว กรณีที่ผู้พิการเคลื่อนย้ายตัวเองได้ไม่ดีมีแรงแขนไม่พอที่จะยกตัวเองจากเก้าอี้ล้อเข็นไปเตียงหรือจากเตียงไปเก้าอี้ล้อเข็น

7. ห้องน้ำ
• ควรมีพื้นที่ว่างกว้างพอที่ล้อเข็นเข้าไปได้ (มากกว่า 1.5 x 1.5 ตร.ม.
• ประตูทางเข้ากว้างตั้งแต่ 81.5 เซนติเมตรขึ้นไป หรือกว้างพอที่ให้เก้าอี้ล้อเข็นผ่านได้
• มีราวเกาะติดผนังทั้งด้านหน้าและด้านหลังสำหรับให้ผู้พิการใช้เกาะพยุงตัว ความสูงของราวเกาะที่เหมาะสมคือประมาณ 85–90 เซนติเมตร (33 – 36 นิ้ว) และยาวไม่น้อยกว่า 1 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของราวเกาะที่เหมาะสมประมาณ 3.2 - 5.1 เซนติเมตร ( 1.25 – 2 นิ้ว) และควรติดให้ยื่นห่างจากผนังมากกว่า 3.8 เซนติเมตร ( 1.5 นิ้ว ) เพื่อให้สามารถสอดนิ้วมือเข้าไปกำราวได้สะดวก
โถส้วม
    ควรเป็นแบบชักโครกนั่งห้อยขาแทนแบบนั่งยองๆ หรืออาจใช้เก้าอี้นั่งถ่าย (commode chair) ช่วย ความสูงที่เหมาะสมของโถส้วมจะอยู่ที่ประมาณ 43 – 48 เซนติเมตร (17 – 19 นิ้ว)
การรับประทานอาหาร
อาหาร และวิธีการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
1.ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนใส่สายให้อาหารทางจมูก
    - อาหารที่ผู้ป่วยได้รับ จะเป็นอาหารปั่นเหลว ซึ่งมีสารอาหารครบตามคำแนะนำของแพทย์ และควร ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด ปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย แต่ละราย ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำ โภชนาอาหารก่อนจำหน่ายกลับบ้าน ตลอดจนเวลา และวิธีการให้อาหารทางสายยาง ผู้ป่วยควรรับอาหารตามเวลา และญาติผู้ดูแลควรระมัดระวังป้องกันการสำลัก
2.ผู้ป่วยมีอาการกลืนลำบาก รับประทานเองได้บ้างบางชนิด
    - แนะนำเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย รับประทานครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้ง
3.ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับโรค
    - ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงอาหาร จำพวกคาร์โบไฮเดรต(แป้ง) น้ำตาลเช่น ขนมหวาน ขนมปัง นม ผลไม้ที่มีรสหวาน
    - ผู้ป่วยความโรคดันโลหิตสูง ไขมันสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวก รสจัด เค็ม มัน เช่น กระเพราหมูกรอบ หมูมัน หรือการประกอบอาหาร ควรลดปริมาณเครื่องปรุงลง เกลือ น้ำปลา รสดี เป็นต้น
การออกกำลังกาย
การฟื้นฟู การออกกำลังกาย
1. กรณีผู้ป่วยเริ่มฝึกเดิน ออกกำลังตัวเองได้บ้าง ควรมีอุปกรณ์ไม้ 4 ขา หรือ 3 ขา ราวไม้ ให้ผู้ป่วยหัดเดิน ฝึกออกกำลังกายทุกวัน อย่างน้อย30นาที/วัน โดยมีญาติคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
2.กรณีผู้ป่วยยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ญาติควรช่วยบริหารโดยการยกแขน ขา นวดคลายกล้ามเนื้อ ให้ผู้ป่วยอย่างน้อย 30 นาที/วัน หรืออาจให้ผู้ป่วย ฝึกเองโดยมีญาติคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
1.จะทำให้ข้อไม่ติด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด กระตุ้นการสั่งการของระบบประสาทสมอง
2.จะทำให้ผู้ป่วยน้ำหนักตัวไม่เพิ่ม ช่วยให้การเดินเคลื่อนไหวได้สะดวกดีขึ้น
การร่วมการรักษาด้วยสมาธิบำบัด
การทำสมาธิบำบัด
ผู้ป่วยสามารถฝึกลมหายใจ เข้า-ออก ซึ่งจะทำได้โดย
    -สูดลมหายใจเข้า ลึกๆ ช้าๆ ค้างลมไว้ นับในใจ 1, 2, 3
    -ปล่อยลมหายใจออกช้าๆ ช้าๆ
ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ สักประมาณ 30 รอบการหายใจ ก่อนนอนและตอนเช้า หรือกรณีมีความเครียด

ประโยชน์ของการฝึกสมาธิบำบัด
-ผู้ป่วยและญาติขณะฝึกสมาธิบำบัด ร่างกายจะหลั่งสาร จะรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย อารมณ์ดี
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คลินิกฝังเข็ม

โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

เลขที่ 49 ถนน ช้างเผือก

ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา

จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30000

Google Maps : https://goo.gl/maps/DKECoUv3eJeKNcu39>

การเดินทาง
เเผนที่ Google Maps
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
เลขที่ 49 ถนน ช้างเผือก
ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30000
044-235243


Copyright © 2021 PETCH KH. All right reserved