การตอบกลับการจองคิว
/ STROKE คือะไร?
STROKE คือะไร?
โรคหลอดเลือดสมองตามหลักแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน
อาหารผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดจากความผิดปกติที่เกิดจากกลไกสมอง ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองขาดเลือดและเนื้อเยื่อสมองตายซึ่งเกิดอย่างกะทันหันทันที อาการและความรุนแรงของโรคขึ้นกับตำแหน่งและขนาดของรอยโรค เช่นอาการ อ่อนแรงหรือชาที่ใบหน้าและแขนขา กลืนลำบากพูดไม่ชัด เห็นภาพซ้อนโดยอาการคงอยู่ไม่น้อยกว่า24ชม.รายที่รุนแรงอาจจะถึงขั้นเสียชีวิต โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1 โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน(ischemic stroke)พบได้ประมาณร้อยละ 80 เกิดจากหลอดเลือดในสมองแข็งและตีบตัน(atherothrombosis) หรือลิ่มเลือด หรือสิ่งหลุดอุดตัน ในหลอดเลือดสมอง โดยสิ่งหลุด มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณอื่น เช่น หัวใจ หลอดเลือดแดงที่มีพยาธิสภาพบริเวณอื่น เช่น internal carotid
2 โรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณร้อยละ20 มักเกิดจากการแตกของหลอดเลือดในสมองที่โป่งพอง (aneurysm)หรือหลอดเลือดสมองแตก

โรคหลอดเลือดสมองตามหลักการแพทย์แผนจีน
ศาสตร์การแพทย์แผนจีน เรียกโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตว่า “จ้งเฟิง” หมายถึงโรคที่มีอาการหน้ามืดล้มลง หมดสติฉับพลัน ร่างการครึ่งซีกอ่อนแรง ปากเบี้ยว เห็นภาพซ้อน พูดติดขัด หรืออาจจะไม่ล้มลงหมดสติ แต่มาอาการอ่อนแรงครึ่งซีก จนถึงปากเบี้ยวและเห็นภาพซ้อน ลักษณะเฉพาะของ“จ้งเฟิง”คือ เกิดอาการฉับพลันชัดเจนเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว คล้ายกับลมซึ่งมีลักษณะธรรมชาติเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว คำว่า“จ้ง”แปลว่าถูกกระทำ “เฟิง”แปลว่า ลม โดยรูปศัพท์แปลว่าลมที่ถูกกระทำ
ฝังเข็มษาอัมพฤกษ์ อัมพาต
การรักษาอัมพฤกษ์ อัมพาต ด้วยวิธีฝังเข็ม
    เมื่อผู้ป่วยได้เข้ารับบริการฝังเข็มเพื่อรักษาฟื้นฟูอาการหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจโดยแพทย์ แพทย์จีนโดยการตรวจรักษาตามแบบแผนแพทย์ปัจจุบัน และตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์แผนจีน เมื่อตรวจวินิจฉัยแล้วจะประเมินแบบแผนการรักษาให้กับผู้ป่วย การรักษาด้วยการฝังเข็มแพทย์จะปักเข็มลงไปในตำแหน่งต่างๆของร่างกาย เพื่อปรับสมดุล กระตุ้นจุด เพิ่มการไหลเวียนโดยใช้ทฤษฎีทางการแพทย์แผนจีน หลังจากนั้นประเมินผลและติดตามการรักษาตามลำดับ

แผนการรักษา
แผนที่1 นัดฝังเข็มต่อเนื่องติดต่อกัน10วันแรก
แผนที่2 นัดฝังเข็ม2ครั้ง/สัปดาห์ ติดต่อกัน10ครั้ง
แผนที่3 นัดฝังเข็ม1ครั้ง/สัปดาห์ ติดต่อกัน10ครั้ง
แผนที่4 นัดฝังเข็ม1ครั้ง/เดือน
เป้าหมายในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วย STROKE
เป้าหมายในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วย STROKE
เป้าหมายที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ประกอบด้วย

     1. ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันกับครอบครัวได้เป็นปกติ
     2. ผู้ป่วยสามารถดึงศักยภาพออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
     3. สมองและกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นและพัฒนาความสามารถในระยะยาว
     4. ไม่เกิดความพิการซ้ำซ้อน

ช่วงเวลาสำคัญของการดูแล
     หลังผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองผ่านช่วงวิกฤติ ระยะเวลาที่ได้ผลดีในการฟื้นฟูสมองและร่างกาย (Golden Period) คือ ไม่เกิน 3 - 6 เดือนแรกหลังเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เพราะสมองสามารถฝึกและพัฒนาได้ดีที่สุด หากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง สมองจะฟื้นตัวไวและสามารถแสดงศักยภาพที่เหลืออยู่ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามหากผ่าน 6 เดือนไปแล้ว แม้สมองจะมีอัตราการพัฒนาที่น้อยลง แต่ก็ยังสามารถพัฒนาต่อไปได้เรื่อย ๆ ถ้าได้รับการฝึกอย่างต่อเนื่อง การได้รับการดูแลด้วยบุคลากรหลากหลายสาขาวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นอายุรแพทย์ระบบประสาท อายุรแพทย์ผู้สูงอายุ ศัลยแพทย์ระบบประสาท แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เเพทย์จีน พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด รวมถึงความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้ดูแลและญาติในกระบวนการต่าง ๆ ในการดูแลผู้ป่วย ย่อมช่วยฟื้นฟูสมองของผู้ป่วยได้อย่างเต็มศักยภาพและมีคุณภาพ
การวางแผนดูแลผู้ป่วย STROKE
     ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมอง แพทย์ผู้ชำนาญการจะวางเป้าหมายในระยะสั้นและระยะยาวร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ ผู้ป่วย ญาติและผู้ดูแล เพื่อให้การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยจะมีการประชุมทีมทุกสัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยจะดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่
ด้านร่างกาย
     การดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองในด้านร่างกาย มีตั้งแต่การฝึกนั่ง ยืน เดิน ขึ้นลงบันได การเคลื่อนไหวมือและแขน การฝึกทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เช่น การสวมเสื้อผ้า การรับประทานอาหาร การฝึกกลืน การดูแลการนอน การจัดท่านอน การบริหารกล้ามเนื้อและข้อ การฝึกสื่อสารทั้งการพูดและการฟัง
ด้านจิตใจ
     การดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมองในด้านจิตใจมีความสำคัญมาก เพราะผู้ป่วยมักมีความกังวลจากการสูญเสียสมรรถภาพไปโดยไม่ทันคาดคิด รวมถึงภาวะซึมเศร้า ขาดการควบคุมอารมณ์ ทำให้โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย ขึ้นอยู่กับพื้นฐานและภาวะของโรคในผู้ป่วยแต่ละบุคคล ดังนั้นการให้กำลังใจ การจัดกิจกรรมสันทนาการ และการดูแลผู้ป่วยอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางคือสิ่งสำคัญ

ผู้ดูแลคือหัวใจ
     ผู้ดูแล (Caregiver) คือหัวใจสำคัญในการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยกลุ่มโรคทางสมอง เพราะการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด การปรับบ้านและสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะกับผู้ป่วย ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือจากญาติหรือคนในครอบครัว ซึ่งการเรียนรู้หลักการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองอย่างถูกต้องจากทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญ มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้และพัฒนา กระตุ้นสมองให้สร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนเซลล์เดิมที่สูญเสียไปได้อย่างมีศักยภาพ โดยสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลต้องมีคือ ทักษะในการฝึกฝนผู้ป่วย กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทำกิจวัตรประจำวัน ทำกับข้าวเมนูง่าย ๆ งานประดิษฐ์ง่าย ๆ ตลอดจนเล่นเกมกระตุ้นความจำ มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองและกล้ามเนื้อของผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตสภาพจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วย และสามารถปรับกิจกรรมการฝึกได้อย่างเหมาะสมในช่วงเวลานั้น ๆ โดยผู้ดูแลที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีมีความสำคัญในการสร้างความเข้าใจ ความเชื่อมั่น และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ในช่วงระยะฟื้นฟูของผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองก่อนกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านนั้น โรงพยาบาลที่พร้อมด้วยบุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ในการฝึกที่ครบในทุกขั้นตอนของการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยเป็นตัวช่วยสำคัญในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคสมองในระยะเปลี่ยนผ่านหลังจากผ่านภาวะวิกฤติให้กลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติอีกครั้ง
การเดินทาง
เเผนที่ Google Maps
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
เลขที่ 49 ถนน ช้างเผือก
ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ 30000
044-235243


Copyright © 2021 PETCH KH. All right reserved