การตอบกลับการจองคิว
โรคออฟฟิศซินโดรม
โรคออฟฟิศซินโดรม คือ?
กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) เนื่องมาจากรูปแบบการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง
อาการของโรค
1. ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง มักมีอาการปวดแบบว้างๆ ๆไม่สามารถชี้จุดหรือระบุตำแหน่งที่ปวดได้อย่างชัดเจน เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก
2. ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือในบางครั้งมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือการที่ใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน
3. ปวดหลังเรื้อรัง เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมง นั่งไม่ถูกท่า นั่งหลังค้อม อาจทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ เมื่อย เกร็งอยู่ตลอด รวมถึงงานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูง
4. ปวดตึงที่ขา หรือเหน็บชา อาการชาเกิดจากการนั่งนานๆ ทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติ
5. ปวดตา ตาพร่า เนื่องจากต้องมีการมองหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ หรือใช้สายตาอย่างหนักเป็นเวลานาน
6. มือชา นิ้วล็อค ปวดข้อมือ เพราะการใช้คอมพิวเตอร์จับเมาส์ในท่าเดิมๆ นาน ทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนอักเสบ เกิดพังผืดทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วหรือข้อมือล็อคได้
การรักษากับการฝังเข็ม
1. บรรเทาอาการปวดและลดการตึงของกล้ามเนื้อ การฝังเข็มช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณกล้ามเนื้อที่มีการตึงตัวและอักเสบ ซึ่งช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดการปวดเมื่อยและอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
2. ลดความเครียดและผ่อนคลายระบบประสาท ออฟฟิศซินโดรมมักเกิดจากความเครียดและการทำงานที่ต่อเนื่อง การฝังเข็มช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (สารที่ทำให้รู้สึกดี) และช่วยให้ระบบประสาทสงบลง ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและลดความเครียดได้
3. ปรับสมดุลพลังงาน (ชี่) ในร่างกาย ตามหลักการแพทย์แผนจีน การไหลเวียนของพลังงานที่ติดขัดทำให้เกิดการอักเสบและอาการปวด การฝังเข็มช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของพลังงาน ทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล ลดอาการไม่สบายที่เกิดจาก Office Syndrome
4. เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว การฝังเข็มทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นคลายตัว ลดอาการเจ็บและช่วยให้เคลื่อนไหวสะดวกขึ้น
เป้าหมายในการรักษา
1. บรรเทาอาการปวดและอาการไม่สบาย ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ หรือหลัง
2. แก้ไขต้นเหตุของปัญหา ปรับพฤติกรรมการทำงาน เช่น ท่าทางที่ไม่เหมาะสม การนั่งนานเกินไป หรือการใช้อุปกรณ์ที่ไม่สอดคล้องกับสรีระ
3. ฟื้นฟูและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง
4. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนระยะยาว ลดความเสี่ยงของการเกิดอาการที่รุนแรงขึ้น เช่น กระดูกสันหลังเสื่อมหรือปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาท
5. ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ลดความเหนื่อยล้าและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน