การตอบกลับการจองคิว
โรคภาวะมีบุตรยาก เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
โรคภาวะมีบุตรยาก เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คือ?
การที่คู่สมรสมีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และไม่มีการคุมกำเนิดติดต่อกันประมาณ 1 ปี แล้วยังไม่เกิดการตั้งครรภ์จะเข้าข่ายภาวะมีบุตรยาก หรือผู้หญิงที่มีอายุเกิน 40 ปี ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการตัดสินใจมีบุตร จะเริ่มเข้าสู่ภาวะมีลูกยากเช่นกัน สัญญาณของภาวะมีบุตรยากมีอะไรบ้าง สัญญาณของภาวะมีบุตรยากสามารถสังเกตได้จากหลากหลายปัจจัย เช่น คู่สมรสที่พยายามจะมีลูกมากกว่า 1 ปี แล้วยังไม่ท้อง คนในครอบครัวมีประวัติการมีลูกยาก คู่สมรสมีประวัติการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ หรือปัญหาสุขภาพจากฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชาย หากพบสัญญาณปัญหาเหล่านี้ คู่สมรสที่อยากมีลูกควรเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุดเพื่อรับคำแนะนำอย่างถูกต้อง เพราะจะช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาภาวะมีบุตรยาก และเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ ไม่ควรปล่อยให้เวลาผ่านไปนานหลายเดือนหรือหลายปี
อาการของโรค
สาเหตุ
ฝ่ายหญิง
1. อายุมากขึ้น ทำให้จำนวนและคุณภาพของไข่น้อยลง
2. ฮอร์โมนผิดปกติ โดยเฉพาะฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์ เช่น LH, FSH
3. ปัญหาการตกไข่ ทำให้ไข่ไม่ตกออกมาจากรังไข่เพื่อไปรอพบกับอสุจิ ส่งผลให้ไม่เกิดการปฏิสนธิ โอกาสตั้งครรภ์ตามธรรมชาติจึงลดลงด้วย
4. มดลูกหรือปากมดลูกผิดปกติ เช่น เนื้องอกในโพรงมดลูก พังผืดในโพรงมดลูก ส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนและอาจทำให้เกิดการแท้ง
5. ท่อนำไข่อุดตันส่งผลให้อสุจิไม่สามารถพบกับไข่ ทำให้ไม่เกิดการปฏิสนธิ
6. ปัญหาทางจิตใจและความเครียด ล้วนส่งผลให้ฮอร์โมนในระบบเจริญพันธุ์ผิดปกติ ทำให้ไข่ไม่ตกหรือไข่ไม่มีคุณภาพตามมา
ฝ่ายชาย
1. อสุจิผิดปกติหรือมีจำนวนน้อย อสุจิที่ผิดปกติ เช่น มีรูปร่างผิดปกติ มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ ล้วนส่งผลให้มีบุตรยาก ดังนั้นคุณผู้ชายที่พยายามมีบุตรแต่ยังไม่สำเร็จสามารถใช้วิธีตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้อ (Semen Analysis) เพื่อตรวจหาสาเหตุได้
2. ฮอร์โมนผิดปกติ โดยเฉพาะภาวะขาดฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่ทำให้ความต้องการทางเพศลดลงและอ่อนเพลีย
3. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ทั้งจากปัจจัยด้านอายุ หรือความผิดปกติของร่างกาย
4. ความผิดปกติของอัณฑะ เช่น หลอดเลือดดำในถุงอัณฑะโป่งพอง การติดเชื้อ การอักเสบ เป็นต้น
5. ท่อนำอสุจิอุดตัน ทำให้ไม่มีอสุจิในน้ำเชื้อส่งผลให้มีบุตรยาก
6. ปัญหาทางจิตใจและความเครียด ส่งผลให้จำนวนและคุณภาพอสุจิลดลง รวมถึงอาจทำให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วย

การรักษากับการฝังเข็ม
ในฝ่ายหญิง
1. ปรับสมดุลฮอร์โมน กระตุ้นการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมใต้สมองและรังไข่
2. เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังมดลูกและรังไข่ ส่งเสริมการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกที่แข็งแรงและช่วยให้การฝังตัวของตัวอ่อนมีโอกาสสำเร็จ
3. ลดความเครียด ลดฮอร์โมนความเครียด (Cortisol) ที่อาจรบกวนการตั้งครรภ์
4. ส่งเสริมคุณภาพน้ำเชื้อในเพศชาย ช่วยปรับสมดุลและเพิ่มประสิทธิภาพของตัวอสุจิ
ในฝ่ายชาย
1. เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศ: กระตุ้นระบบหลอดเลือดและเส้นประสาท
2. ฟื้นฟูพลังงาน (ชี่): ปรับสมดุลพลังงานในร่างกาย โดยเฉพาะที่ไตซึ่งเกี่ยวข้องกับพลังงานเพศ
3. ลดความเครียดและฟื้นฟูสมรรถภาพ: ส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับสมรรถภาพทางเพศ
เป้าหมายในการรักษา
1. ฟื้นฟูและปรับปรุงการทำงานของระบบสืบพันธุ์
2. ปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย
3. ลดปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์และสมรรถภาพทางเพศ
4. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความสัมพันธ์
5. ใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ (กรณีจำเป็น) ในกรณีภาวะมีบุตรยากที่ต้องการความช่วยเหลือเฉพาะทาง เช่น การปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF), การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI), หรือการใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
6. สนับสนุนสุขภาพโดยรวม แก้ไขปัญหาด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวันเพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตรยากหรือสมรรถภาพทางเพศเสื่อม