ข่าวสารล่าสุด
Admin
30 พฤศจิกายน 542 เวลา 00:00 น.
ข้อบ่งใช้กัญชาทางการแพทย์
ดูรูปภาพ
ดูเพิ่มเติม -3+
ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ
ยาทำลายพระสุเมร

แก้ลมจุกเสียด เมื่อยขบตามร่างกาย แก้ปวดกล้ามเนื้อ คลายกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งจากโรคลมอัมพฤกษ์ อัมพาต

ยาศุขไสยาศน์

ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร

ยาไฟอาวุธ

ลมจุกเสียด ปวดมวนท้อง

ยาอัมฤตย์โอสถ

แก้ผอมแห้งแรงน้อย มึนตึง มือเท้าอ่อนแรง

ยาอไภยสาลี

แก้อาการจุกเสียดแน่น

ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง

ทาแก้ริดสีดวงทวารหนัก ทาแก้โรคผิวหนัง (เช่น เรื้อนกวาง เรื้อนมูลนก)

น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)

โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ โรคปลอกประสาทอักเสบ โรคมะเร็งระยะสุดท้าย รวมถึงผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง

สารสกัดน้ำมันกัญชา
สารสกัดน้ำมันกัญชาสูตร THC:CBD 1:1

ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis) หรือใช้ตามแพทย์สั่ง

สารสกัดน้ำมันกัญชาสูตร CBD

โรคลมชักที่รักษายาก โรคลมชักที่ดื้อต่อการรักษา (intractable epilepsy) หรือใช้ตามแพทย์สั่ง

สารสกัดน้ำมันกัญชาสูตร THC

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด (chemotherapy induced nausea and vomiting) ภาวะปวดประสาท (neuropathic pain) หรือใช้ตามแพทย์สั่ง

วิธีการรักษา และเกร็ดความรู้
สารสกัดน้ำมันกัญชา
ช่วยรักษาในกลุ่มอาการและโรคดังนี้
  • ภาวะคลื่นไส้อาเจียน ในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด
  • โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษาโรค
  • ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • ภาวะปวดประสาทส่วนกลาง ที่ใช้การรักษาอื่นๆแล้วไม่ได้ผล
  • ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วยเอดส์ ที่มีน้ำหนักตัวน้อย
  • การเพิ่มคุณภาพชีวิต ในผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสม
ช่วยรักษาในกลุ่มอาการและโรคดังนี้
  • นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร
  • ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ที่มีอาการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้ออ่อนแรง และชา
  • ปวดตึงกล้ามเนื้อ และมือ-เท้าชา
  • อาการจุกเสียด แน่นเฟ้อ
  • ริดสีดวงทวารหนัก
  • โรคผิวหนัง (ผื่นภูมิแพ้ สะเก็ดเงิน)
  • ปวดศีรษะ ไมเกรน
  • ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
ข้อห้ามและคำแนะนำ
คำเตือนและข้อห้าม
ข้อควรระวัง ในการใช้ยาที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ (แผนไทย)
  • ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มีสารเมา THC เป็นส่วนประกอบในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดจิตเภทและลดพัฒนาการทางสมองได้ ยกเว้นแพทย์พิจารณาแล้วว่าอาจได้ประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง
  • ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในผู้ที่เป็นโรคตับ (หากจำเป็นให้ลดขนาดยาลงเนื่องจากกัญชาใช้ตับในการกำจัดยาเป็นหลัก)
  • ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในผู้ที่เป็นโรคไตวายระยะสามขึ้นไป หรือมีค่าอัตราการกรองของไต GFR น้อยกว่า 60 เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยชัดเจน
  • ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก เพราะอาจเพิ่มโอกาสการเสพติดกัญชา ยกเว้นใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่เป็น CBD
  • ระวังการใช้ยากัญชาร่วมกับยาในกลุ่มอนุพันธ์ฝิ่น ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ เพราะอาจเสริมฤทธิ์กับกัญชา เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม มึนงง สับสน ยกเว้นใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่เป็น CBD
  • ระวังการใช้ยาผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการมากเพียงพอในสองกลุ่มนี้ กระบวนการเปลี่ยนแปลงยาของผู้สูงอายุจะช้ากว่า จึงดูเหมือนว่ามีการตอบสนองต่อกัญชาได้สูงกว่า ดังนั้นการใช้จึงควรเริ่มต้น ในปริมาณที่น้อยและปรับเพิ่มขึ้นช้าๆ
คำแนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ขอบเขตการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์
  • กัญชา ไม่ใช้เป็นการรักษา ลำดับแรก (First-line Therapy) ทุกกรณี
  • ใช้เมื่อการรักษาวิธีมาตรฐานไม่ได้ผล
  • แพทย์ผู้รักษาและสั่งจ่าย ต้องได้รับการอบรมและอนุญาตจาก อย.
  • สถานพยาบาลต้องได้รับอนุญาตจาก อย.เท่านั้น
  • เป็นการรักษาเสริมหรือใช้ร่วมกับการรักษาตามมาตรฐาน โดยไม่หยุดการรักษาที่รับอยู่ในปัจจุบัน